โรคต้อหิน ต้อกระจกตา มีสาเหตุมาจากอะไร

เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆในร่างกายก็อาจเกิดการเสื่อมสภาพลง และทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นมาได้ เช่นเดียวกันกับดวงตาของเรา หากเราไม่รักษาสุขภาพดวงตาของเราเท่าที่ควรก็อาจทำให้เกิดโรคตาได้ สำหรับโรคตาที่อันตราย และ พบมากในผู้สูงอายุก็คือ โรคต้อหิน และ โรคต้อกระจก แต่ก็ใช่ว่าอายุน้อยๆจะเป็นไม่ได้เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้อีก หากอยากรู้ว่าสองโรคนี้มีความแตกต่างกันยังไงเรามาดูกันเลยค่ะ

Table of Contents

    โรคต้อหิน

    ต้อหิน (Glaucoma) เป็นหนึ่งในโรคที่อันตรายมากๆหากไม่ทำการรีบรักษาอาจส่งผลร้ายแรงทำให้ตาบอดสนิทได้ เนื่องจากอาการของโรคต้อหินจะทำให้ประสาทตาค่อยๆเสื่อม โดยเริ่มสูญเสียการมองเห็นจากขอบสายตา ทำให้ในช่วงแรกคนไข้ยังเห็นภาพในส่วนกลางลูกตาได้ปกติ จึงเป็นสาเหตุให้ในช่วงแรกคนไข้อาจจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคต้อหิน หากปล่อยทิ้งไว้ประสาทจะเสื่อมและขยายไปเรื่อยๆ จากที่มองเห็นชัดเจนก็จะมองเห็นภาพได้เล็กลงจนสูญเสียการมองเห็นทั้งหมด และถึงแม้จะได้รับการรักษาแต่ก็จะไม่สามารถกลับมามองเห็นได้ดีดังเดิม

    สาเหตุการเกิดต้อหิน

    ปัจจัยหลักของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากภาวะความดันในตาสูง และ มีอาการเสื่อมของประสาทตา โดยสาเหตุที่ความดันในลูกตาสูงขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากการไหลเวียนของน้ำหล่อลื้นในลูกตานั้นมีความไม่สมดุลกันเนื่องจากการระบายน้ำของลูกตาเกิดการอุดตันและเสื่อมสภาพในบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำลูกตาจนทำให้ความดันตาสูงขึ้นนั่นเอง

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคต้อหิน

    • โดยคนที่มีอายุมากกว่าจะมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า โดยจะพบมากที่สุดในคนที่มีช่วงอายุมากกว่า 40 ปี
    • มีสมาชิกในครอบครัว หรือ เครือญาติในสายเลือดเดียวกันเป็นโรคต้อหินก็จะมีโอกาสการเป็นโรคต้อหินสูงขึ้นจากพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป
    • มีระดับความดันตาค่อนข้างสูง หรือ สูงมากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีความดันตาค่อนข้างต่ำ หรืออยู่ในช่วงเกณฑ์ปกติ
    • ผู้ไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันสูง และ โรคหัวใจ เนื่องจากเสี่ยงมีความผิดปกติของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงขั้วประสาทตาจึงอาจทำให้เป็นโรคต้อหินได้
    • มีโรคทางตาหรือประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้
    • ใช้สารหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

    อาการโรคต้อหิน

    โดยอาการต้อหินส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ หรือ สัญญาณให้เห็นอย่างเด่นชัดในระยะแรก โดยส่วนมากจะค่อยๆเริ่มสูญเสียการมองเห็นไปทีละส่วน โดยส่วนมากจะใช้เวลา 5 -10 ปี จึงจะสูญเสียการมองเห็นทั้งหมด ซึ่งอาจใช้เวลาเร็วหรือช้านั้นจะขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบต้อหินในระยะที่เท่าไหร่ หากตรวจพบเร็วและทำการควบคุมโรคนี้ไว้ได้ แต่เนื่องจากเมื่อเซลล์ขั้วประสาทตานั้นตายไปแล้วจะไม่สามารถกำเนิดขึ้นมาใหม่ได้อีกจึงได้เพียงทรงตัวอาการไม่ให้ทรุดลงไว้ได้เท่านั้น แต่หากว่ามาตรวจพบช้าก็จะทำให้ตาบอดชนิดถาวรได้นั่นเอง โดยอาการของโรคนี้ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปแต่ส่วนใหญ่จะมีอาการ

    • อาการปวดตา
    • อาการตาแดง
    • ตามัวลง
    • กระจกตาบวม / ขุ่น
    • เห็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ

    วิธีการรักษาโรคต้อหิน

    ถึงแม้จะไม่สามารถรักษาโรคต้อหินให้หายขาดได้แต่เราก็สามารถควบคุมหรือทรงอาการไว้ไม่ให้แย่ลงกว่าเดิมได้ หากได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ซึ่งเป็นแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านดวงตาโดยเฉพาะ

    1. การใช้ยา
      โดยสามารถใช้ได้ทั้งยาหยอดตา ยารับประทาน และ ยาฉีด
    2. การเลเซอร์
      ใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่นาน โดยปกติจะใช้ยาควบคู่กันไปด้วย แต่การใช้เลเซอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพไม่สูงเท่าการผ่าตัด
    3. การผ่าตัด
      การรักษาโดยการผ่าตัดนั้นมีประสิทธิภาพสูง แต่เป็นการผ่าตัดเพื่อลดความดันตาเท่านั้นซึ่งจะเป็นการควบคุมอาการ ไม่ได้เป็นการรักษาที่หายขาด อีกทั้งการรักษาโรคต้อหินจะขึ้นอยู่กับต้อหินว่าเป็นลักษณะไหนมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

    โรคต้อกระจก

    เมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันลดลง ความเสื่อมสภาพของร่างกายตามระยะเวลา ก็ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่อายุ 50 ปีขึ้นไปนั่นก็คือ ความเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา หรือที่เราเรียกกันว่า ต้อกระจก (Cataracts)

    สาเหตุการเกิดต้อกระจก

    เกิดจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของเลนส์แก้วตาที่ขุ่นเป็นฝ้าสีขาว และ มีลักษณะแข็งขึ้น โดยปกตินั้นเลนส์จะมีลักษณะใสสามารถรวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาได้พอดี แต่หากเกิดต้อกระจกจะทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้เหมือนคนทั่วไป จึงทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัว หากทิ้งไว้นานๆอาจเกิดภาวะที่กระจกตามัวมากทำให้มองไม่เห็นได้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคต้อหิน

    • มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันของมารดาระหว่างตั้งครรภ์
    • ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน หรือ โดนฉายรังสีที่บริเวณร่างกาย และ ศีรษะบ่อยๆ
    • มีโรคประจำตัวที่อาจไปกระตุ้นทำให้เกิดต้อกระจก เช่น โรคเบาหวาน หรือ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
    • มีโรคทางตาหรือประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้
    • ใช้สารหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
    • ความเสี่ยงที่ได้รับจากพันธุกรรม

    อาการโรคต้อกระจก

    • มองเห็นไม่ชัดเจน สายตาพร่ามัว โดยจะมัวลงอย่างช้าๆ และจะยิ่งมัวมากขึ้นเมื่อโดนแสงแดดจ้า
    • อาจมีอาการหนักถึงขั้นปวดศีรษะ ปวดตา
    • เห็นภาพซ้อนทับกัน เนื่องจากการหักเหของแสงที่ไปยังจอประสาทตาไม่รวมเป็นจุดเดียวกัน
    • มองเห็นสีต่างๆเพี้ยนไปจากเดิม
    • เห็นฝ้าสีขาวบริเวณกลางรูม่านตาในกรณีที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้ว และ เสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน อย่างโรคต้อหินได้

    วิธีการรักษาโรคต้อกระจก

    การรักษาโรคต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดต้อกระจกเพื่อสามารถนำเลนส์ที่ขุ่นออกมาแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนก็สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติ

    ไม่ว่าจะโรคต้อหินหรือต้อกระจกต่างก็เป็นโรคที่มีความอันตรายต่อดวงตาของเราสูง หากไม่ดูแลรักษาสุขภาพดวงตาก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ฉะนั้นเราควรรักษาสุขภาพดวงตาของเราหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี หรือสามารถทดสอบการมองเห็นด้วยตนเองได้ โดยการใช้มือปิดตาทีละข้างเพื่อตรวจสอบว่าเรายังสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิมหรือไม่ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานวิตามินอี เอ และ วิตามินซีเพื่อบำรุงสายตา หรือหลีกเลี่ยงการมองแสงแดดจ้าโดยตรงด้วยการสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสงยู ก็ถือเป็นการป้องกันดวงตาของเราได้

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      เปิดใช้งานตลอด

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

      คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

    บันทึกการตั้งค่า