โรค MG คืออะไร? กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ปัญหาที่แก้ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

           ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มีอาการเปลือกตาตกไม่คงที่ ลักษณะจะเป็นๆหายๆ  อาการลืมตาได้ไม่สุด ตาปรือ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อมไทมัสโตผิดปกติ เป็นต้นสาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทานยา

โรค MG (Myasthenia Gravis) คืออะไร?

           ภาวะของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือที่เราเรียกกันว่า โรค MG ( myasthenia gravis ) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นได้จากระบบภูมิคุ้มกันรอยต่อระหว่างปลายประสาททำร้ายกล้ามเนื้อตัวเอง ( neuromuscular junction ) หรือเรียกว่าระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ซึ่ง โรค MG หรือ Myasthenia Gravis สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ 

  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ต่อมไทมัสมีขนาดผิดปกติ
  • พันธุกรรม 

โรค MG คืออะไรอาการที่พบได้ มีอะไรบ้าง?

           โรค MG (myasthenia gravis) เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อของเราอ่อนแรง ลักษณะอาการอ่อนแรงจะเป็นๆ หายๆ เป็นแล้วก็กลับมาเป็นอีก หากคนไข้ใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำๆ จะทำให้เกิดการหดตัวซ้ำของกล้ามเนื้อ มีผลให้อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งอาการของแต่ละบุคคล ก็จะแตกต่างกันไปบางคนอาการอาจจะดีขึ้น บางคนอาการอาจจะอยู่นานเป็นปี หรือตลอดไป

อาการของโรค MG

           ลักษณะอาการที่พบมากที่สุด 70-85 % ในช่วงแรกก็คือ อาการหนังตาตก (extraocular muscle weakness)  มองเห็นภาพซ้อน แต่เมื่อหลับตาข้างได้ข้างหนึ่งอาการภาพซ้อนจะหายไป 

           ทั้งนี้ในบางรายจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในการพูด การกลืน กล้ามเนื้อปาก ลำคอ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง และในบางรายอาจจะมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นทำใหน้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากการเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (myasthenic crisis) 

การวินิจฉัยและวิธีการรักษาโรค MG บริเวณกล้ามเนื้อตา

           เนื่องจากโรค MG  (Myasthenia Gravis) มีอาการและลักษณะคล้ายกันกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอื่นๆ จึงทำให้ต้องซักประวัติของคนไข้อย่างละเอียด ในกรณีที่คนไข้มีอาการไม่มากและสงสัยว่าตัวเองเป็นโรค MG หรือเปล่านั้น คนไข้สามารถทดสอบอาการโรค MG เบื้องต้นได้ 2 แบบดังนี้คือ

1.Ice Test : เป็นการทดสอบอาการด้วยความเย็น โดยสามารถใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นประคบเย็นวางไว้ที่เปลืองขณะหลับตาอยู่ ทิ้งไว้  2 นาที จากนั้นวัดขนาดของความกว้างของตา ว่าเมื่อลืมตาแล้วสามารถลืมตาได้ดีจากก่อนทำ ice test หรือเปล่า หากว่าวัดความกว้างของการลืมตาได้ 2 มิลลิเมตร์ขึ้นไปถือว่าเป็นผลบวก ก็สงสัยได้เลยว่าจะมีอาการของโรค MG ดังนั้นควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและหาวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง แต่ต้องสังเกตุดวงตาตัวเองภายใน 30 วินาที หลังจากที่นำน้ำแข็งออก เพราะเปลือกตาจะตกลงเหมือนเดิมหลังว่าเย็นเริ่มลดลง 

ทดสอบอาการของโรค MG

2.Sleep Test : คือการนอนหลับพักผ่อนเป็นระยะเวลา 45 – 60 นาที เพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างตื่นนอนและหลังเข้านอน หรือสามารถทดสอบได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง MG
  • ให้ผู้ที่มีอาการหนังตาตก หรืออาการลืมตาไม่ขึ้น ถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเองหลังตื่นนอน
  • หลังจากนี้ใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
  • ถ่ายรูปเซลฟี่อีกครั้งในช่วงบ่าย จากนั้นทำมาเปรียบเทียบกัน

           เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วให้สังเกตุดูว่าหากภาพตอนตื่นนอนมีดวงตาที่สดใส ตาเปิดกว้าง แต่พอสังเหตุภาพที่เซลฟี่ตัวเองในช่วงบ่ายมีอาการตาตี่แคบลง ตาเปิดไม่กว้างเท่า หรือมีอาการหนังตาตกในช่วงบ่าย นี่อาจสงสัยได้ว่ามีอาการของโรค MG ได้เช่นกัน

ข้อควรระวัง : ควรถ่ายภาพหน้าตรงในตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ไม่ควรเงยหน้าหรือก้มหน้ามากเกินไป รวมถึงแสงในการถ่ายภาพที่แตกต่างกันเพราะอาจจะทำให้ การเปิดกว้างของดวงตาเปลี่ยนไป ทำให้ผลลัพธ์ไม่สามารถวัดได้อย่างถูกต้อง

3.การตรวจโรค MG ที่โรงพยาบาล : ในการตรวจโรค MG  ( myasthenia gravis ) ที่โรงพยาบาลนั้น คุณหมอจะมีการซักประวัติการดำเนินการของโรค การตรวจร่างกาย เช่น

  • การตรวจการขยายของรูม่านตา, ตรวจการหดตัวของกล้าม
  • การทำ Prostigmin test คือเป็นการฉีด Prostigmin ฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ แล้วประเมินทุก 15, 20, 25 และ 30 นาที เพื่อประเมินอาการอ่อนแรง
  • การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า : เป็นปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ในส่วนที่สงสัยว่ามีความผิดปกติ และใช้อุปกรณ์ตรวจรับสัญญาณ ซึ่งจะแสดงผลเป็นกราฟทางหน้าจอเพื่อการวินิจฉัยและโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรค MG 

และยังมีการตรวจอื่นๆ อีก เช่น การตรวจ acetylcholine receptor antibody, thyroid function test, antinuclear antibody เป็นต้น

การรักษาโรค MG ( myasthenia gravis )

           ภาวะกล้ามเนื้อตา MG  ไม่ควรได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่อแพทย์สงสัยภาวะนี้ จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย และการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพราะเมื่อคนไข้ได้รับการรักษาและอาการของโรค MG  ( myasthenia gravis ) ดีขึ้น อาจจะทำให้เปลือกตาถูกยกรั้งขึ้นผิดปกติได้  ซึ่งการรักษาด้วยยาจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ยาประเภทที่ช่วยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท : มีความปลอดภัยสูง มีผลข้างเคียงเช่น ปวดท้อง, กล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น
  • กลุ่มยาสเตียรอยด์ : จะใช้ยานี้เมื่อมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยนอกจากอาการหนังตาตก ในคนไข่ที่ได้รับยากลุ่มยาสเตียรอยด์ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง ควรทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ฯลฯ 
  • ยากดภูมิคุ้มกัน : การรักษาด้วยกลุ่มยาประเภทนี้จะมีผลข้างเคียงมากที่สุด เนื่องยามีฤทธิ์ทำลายตับ หรือกดไขกระดูกได้

อย่างไรก็ตามตรวจรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และเพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและโรค MG แตกต่างกันอย่างไร?

           หลายคนอาจจะสงสัยว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่นั้นคือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือโรค MG กันแน่ และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สามารถดูจากตารางด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
อาการ : ภาวะที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก 
สาเหตุ : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด, กล้ามเนื้อตาในคนสูงวัย เช่น ความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อเปลือกตา
กล้ามเนื้อตาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การถูขยี้ตาบ่อย ใส่ contact lens มาเป็นเวลานานๆ การผิดพลาดจากการทำตาสองชั้น
การรักษา : สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดทำตาสองชั้น 
*ข้อควรระวัง* ควรเลือกรักษากับจักษุแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญ
โรค MG หรือ Myasthenia Gravis
โรค MG อาการ? : จะมีอาการเปลือกตาตกไม่คงที่ คือ จะเป็นๆหายๆ หรือในตอนเช้าจะมีอาการน้อย แต่อาการหนังตาตกจะรุนแรงขึ้นในช่วงบ่าย จะดีขึ้นหลังจากได้รับการพักผ่าน
สาเหตุโรค MG : ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อมไทมัสโตผิดปกติ, พันธุกรรม
การรักษาโรค MG : ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นการรักษาด้วยการทานยา

           อย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและโรค MG แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ อาการของโรค MG คือมีลักษณะหนังตาตกระหว่างวัน และในบางรายยังมีอาการแขนขาอ่อนแรง กลืนลำบาก เสียงแหบ ร่วมด้วยค่ะ

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

           หากทราบแล้วว่าตัวเองเป็นกล้ามเนื้อตา แนะนำให้แก้ไขด้วยการทำตาสองชั้นวิธีนี้จะสามารถแก้ไขผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ เช่น ชั้นตาไม่เท่ากัน, หนังตาตก, ตาปรือไม่สดใส แต่สำหรับผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อตาจากโรค MG แนะนำว่าควรพบแพทย์เพื่อทำวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกวิธีเนื่องจากความรุนแรงของอาการของแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันไปค่ะ

สรุปโรค MG น่ากลัวหรือไม่?

           หากพบทราบแล้วว่าตัวเองอาจจะมีอาการเสี่ยงที่เป็นโรค MG แล้วแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อวินิฉัย เพราะในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในส่วนอื่นๆได้ เช่น กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง, กล้ามเนื้อบริเวณปากและคำคอ่อนแรง ทำให้กลืนลำบาก เสียงแหบ ในบางรายอาจจะมีกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง จึงอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

FAQ

โรค MG นั้นเป็นโรคเรื้อรัง ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจึงควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และปรับยาให้เหมาะสมกับความรุนแรงของอาการ

หากผู้ป่วยโรค MG อยู่ในที่อากาศร้อนอาจจะทำให้อาการแย่ลงได้ หากเป็นไปได้ควรเสี่ยงอากาศที่ร้อน แต่เมื่ออยู่ในที่อากาศเย็นอาการก็จะดีขึ้น

ในช่วงประจำเดือนของผู้หญิงนั้นสามารถทำให้อาการของโรค MG แย่ลงได้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และระมัดระวังไม่ให้ตัวเองเป็นหวัด หรือไม่สบาย เพราะก็อาจจะทำให้อาการของโรค MG แย่ลงได้เช่นเดียวกันค่ะ

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า